หน้าแรก

ไหว้พระปิดทอง หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี

หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์

ในจังหวัดสุพรรณบุรี มีวัดและพระพุทธรูปเก่าแก่ประจำจังหวัด อยู่หลายแห่งด้วยกัน แต่ที่มีชื่อเสียงด้านความเก่าแก่ ความขลังและความศักดิ์สิทธิ์แล้ว ต้องยกให้ หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ มาเป็นอันดับหนึ่ง 

วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่ที่ ถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี ชาวบ้านทั่วไป เรียกว่า วัดป่า ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโต ปางป่าเลไลยก์ เดิมหลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ต่อมาได้มีการบูรณะและเปลี่ยนเป็น "ปางป่าเลไลยก์" ดังที่ปรากฎให้เห็นในปัจจุบัน
ตามพงศาวดารเหนือกล่าวว่า วัดป่าเลไลยก์ นี้ พระเจ้ากาแล โปรดให้บูรณะ เมื่อ พ.ศ.1724
แสดงว่าวัดนี้ได้ก่อสร้างมานานมาก นับอายุก็เป็นพันปีมาแล้ว


       
หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์
    
วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ระดับวรวิหาร   พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จธุดงค์มาพบสมัยยังทรงผนวชอยู่ หลังจากที่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว จึงทรงปฏิสังขรณ์และบูรณะให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อมา

วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เป็นที่ประดิษฐาน "หลวงพ่อโต ปางป่าเลไยก์" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง มาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล และเป็นที่เคารพศรัทธาของบรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งใกล้และไกล ที่พากันหลั่งไหลมากราบไหว้เป็นจำนวนมากในทุกๆวัน



                          หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์

องค์ "หลวงพ่อโต ปางป่าเลไยก์" เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองขนาดใหญ่ สูง 23 เมตรเศษ สร้างตามแบบศิลปะอู่ทองรุ่นที่สอง ซึ่งเป็นศิลปะฝีมือสกุลช่างอู่ทองในสมัยโบราณ

แต่เดิมทีนั้นองค์พระหลวงพ่อโต ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง พระหัตถ์ขวาหัก 
                        ได้มีช่างผู้มีฝีมือในด้านปูนปั้น จึงสร้างวิหารครอบไว้ โดยให้ผนังวิหารชิดกับพระหัตถ์ขวา
ส่วนด้านพระหัตถ์ซ้าย ปล่อยให้มีที่ว่างไว้ 
และด้านหลังองค์พระ สร้างชิดกับผนังวิหารเพื่อช่วยค้ำยันและเสริม
ให้แข็งแรง นับเป็นความชาญฉลาดของช่างในสมัยนั้นเป็นอย่างยิ่ง

                                          หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์

 ในตำนานบางส่วน ก็กล่าวไว้ว่า แต่เดิมองค์หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ประทับนั่งอยู่กลางแจ้ง พระกรทั้งสองข้างหักหายไป

ผู้ที่มาบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ได้ดัดแปลง ให้เป็นปางป่าเลไลยก์ ตามที่นิยมกันในสมัยนั้น

ลักษณะองค์พระประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระชานุ(เข่า)ข้างซ้าย พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุ(เข่า)ข้างขวา ในท่าทรงรับของถวาย

พระอุโบสถ วัดป่าเลไลยก์

ส่วนพระวิหารที่สร้างครอบองค์พระนั้น ได้สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเห็นได้ว่าที่หน้าบันของพระวิหาร มีพระราชลัญจกรประจำพระองค์ คือเป็นรูปพระมหามงกุฎอยู่ระหว่างฉัตรคู่ปรากฏอยู่

พระพุทธรูปข้างวิหาร หลวงพ่อโต


                       บรรดานางรำแก้บน ถวาย หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์


                                             นางรำ เริ่มรำแก้บนถวาย


                   แผ่นไม้แกะสลักรูป พระนารายณ์ ทรงครุฑ รวยพลิกฟ้าดิน


                    แผ่นไม้แกะสลักรูป พระนารายณ์ ทรงครุฑ รวยพลิกฟ้าดิน


                       แผ่นไม้แกะสลักรูป ตรีนาคาเทวาราหู รวยพลิกฟ้าดิน


                           แผ่นไม้แกะสลักรูป พระพิฆเณศ รวยพลิกฟ้าดิน


                แผ่นไม้แกะสลัก พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ รวยพลิกฟ้าดิน


                  แผ่นไม้แกะสลัก พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ รวยพลิกฟ้าดิน


                       แผ่นไม้แกะสลักรูป ตรีนาคาเทวาราหู รวยพลิกฟ้าดิน


                  แผ่นไม้แกะสลัก พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ รวยพลิกฟ้าดิน


                   แผ่นไม้แกะสลัก พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ รวยพลิกฟ้าดิน


                            แผ่นไม้แกะสลัก พระพิฆเณศ รวยพลิกฟ้าดิน


                      แผ่นไม้แกะสลักรูป ตรีนาคาเทวาราหู รวยพลิกฟ้าดิน


                        แผ่นไม้แกะสลักรูป นารายณ์ทรงครุฑ รวยพลิกฟ้าดิน




นอกจากภาพที่เห็น บริเวณศาลาราย รอบๆระเบียงวิหาร หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ ยังปรากฎภาพจิตกรรมฝาผนังเรื่องขุนช้างขุนแผน อันสวยสดงดงาม วิจิตระการตา มีให้ชื่นชมทัศนามากมาย เรียงรายอยู่ที่ ฝาผนังของศาลารายรอบวิหาร มากมาย หลายต่อหลายสิบภาพด้วยกัน















ภาพและข้อมูลโดย  
ลุงคง เที่ยวไทยตามใจชอบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความทั้งหมด